ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ

          ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือ เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง และหน่วยส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่าง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วย บางครั้งระบบปฏิบัติการเรียกว่า แพลตฟอร์ม (Platform)

ความสัมพันธ์ของผู้ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฏิบัติการ และฮาร์ดแวร์

 1) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน 2 แบบ ดังนี้                 
          1.1)แบบบรรทัดคำสั่ง (Command-Line Interface) เป็น รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ในยุคแรกๆ โดยผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งให้ระบบปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่ง จึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่ง ยังมีความจำเป็นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น

ตัวอย่างรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ แบบบรรทัดคำสั่งของระบบปฏิบัติการดอส เช่น 
Cd\   ทำการย้ายการทำงานไปที่ไดรฟ์ C
C:\>dir  ทำการแสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่ในไดรฟ์ C

ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง DOS ในการก็อปปี้ 
1. พิมพ์ CD\ แล้วกด Enter เพื่อออกไปที่ไดเรคทอรีหลักก่อนก็คือ C:\
2. พิมพ์ dir c:\ แล้วกด Enter เป็นคำสั่งให้แสดงข้อมูลในไดรว์ C: ให้ปรากฏบนจอภาพ
3. ข้อมูลที่ปรากฏ จะมีไฟล์และโฟลเดอร์หรือไดเรคทอรีที่เก็บไฟล์ ({DIR})
4. รายชื่อไฟล์ เช่น aaw7boot.log, config.sys
5. รายชื่อโฟลเดอร์หรือไดเรคทอรี เช่น WINDOWS, Program Files
6. ตรวจสอบไดรว์อื่นๆ ด้วยคำสั่ง dir d:\, dir e:\
7. ถ้าปรากฏข้อความ The system cannot file the path specified ก็แสดงว่าเป็นไดรว์สุดท้าย



  1.2) แบบกราฟฟิก (Graphic User Interface : GUI) เป็นรูป แบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยการใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์หรือโปรแกรม ที่เรียกว่า รายการเลือก (Menu) หรือไอคอน (Icon) ผู้ใช้งานสามารถสั่งงานได้โดยใช้เม้าส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้น เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ทำให้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันที่สวยงาม ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง

2) ประเภทของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการสารมารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้                 
           2.1) ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone- Operating System) เป็น ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน้ตบุคคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อม ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวได้ขยายขีดความสามารถให้รองรับการเชื่อม ต่อกันเป็นระบบเครือข่ายได้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว มีดังต่อไปนี้

ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS)

            


เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบบรรทัดคำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ โดยระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรก เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟต์ เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดอสของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า MS-DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม



ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows)
                     พัฒนา โดยบริษัทไมโครซอฟต์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟฟิก นอกจากนี้บริษัทไมโครซอฟต์ยังได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ ที่สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้หลายด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล เป็นต้น จึงทำให้มีผู้ใช้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์อย่างแพร่หลาย ได้แก่ Windows 3.0 , 3.1 , 3.11 , Windows 95 , 98, ME , windows NT , 2000 , XP , Vista ,7 , 8 , 8.1 และ 10





       ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้าน คอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ในระยะแรกระบบปฏิบัติการยูนิกซ์พัฒนาเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายคนในเวลา เดียวกัน (Multi-User) ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนการใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือ ข่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ เช่น DOS , Microsoft Windows , NetWare , OS/2 , Minix , NFS System V เป็นต้น




  ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macintosh Operating System : Mac OS) ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของแมคอินทอชเท่านั้น ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของบริษัท Apple ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการแรกที่สามารถทำงานเกี่ยวกับกราฟฟิกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการประเภทนี้ติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรูปแบบกราฟฟิก มีความสามารถในการทำงานได้หลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน เหมาะกับงานในด้านสิ่งพิมพ์ กราฟฟิก และศิลปะ


         ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) มีลักษณะคล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ แต่มีขนาดเล็กและทำงานได้เร็วกว่า เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (Open Source Software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน แก้ไขหรือจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ต่อมามีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์โดยเพิ่มความสามารถให้ใช้กับระบบเครือ ข่ายได้ ผู้ที่ต้องการใช้งานต้องดาวน์โหลดมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ระบบปฏิบัติการลินุกซ์นั้น มีรูปแบบหน้าต่างโปรแกรมคล้ายกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แต่มีการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ 



              2.2) ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย(Network Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client Server - System) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (Server) สามารถให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย (Client) ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน หากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและจัดการ โปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่าย ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องลูกข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย มีดังนี้
                     




           ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายาที่ให้บริการข้อมูล และโปรแกรมกับเครื่องลูกข่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์มีการพัฒนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Windows NT, Windows 2000, Windows Server 2003, Windows Server 2003 R2, Windows Server 2008, Windows Server 2008 R2 Windows Server 2012,Windows Server 2012 R2 และ Windows Server 2016  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ ถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่บริหารควบคุมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งเป็นที่นิยมของหลายองค์กร



ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป (OS/2 Warp Server)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นระบบควบคุมเครื่องแม่ข่าย ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟฟิก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อ พ.ศ.2549 ทางไอบีเอ็มจึงเลิกพัฒนา ใน พ.ศ.2548 บริษัท เซเรนิตี ซิสเต็ม (Serenity System) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า e-ComStation โดยรุ่นแรกคือ 1.2R และรุ่นล่าสุดคือรุ่น 2.2 RC7 Silver วางจำหน่ายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน

  

             ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโคร ซิสเต็ม ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ในอนาคตระบบปฏิบัติการโซลาริสมีโครงการจะพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผย โค้ด (Open Source) ด้วยระบบปฏิบัติการโซลาริส มีรูปแบบของหน้าต่างและการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ แต่เพิ่มระบบการเชื่อมต่อและการใช้งานแบบเครือ
ข่าย 



           2.3) ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา  ได้แก่ พีดีเอ ปาล์ม โทรศัพท์มือถือ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะถูกเก็บไว้ในรอม (ROM) ของเครื่อง ใช้หน่วยความจำน้อย สามารถป้อนข้อมูลโดยใช้สไตลัส (stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการแบบฝังจึงต้องมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (hand writing recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบฝัง มีดังต่อไปนี้



                   ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Palm OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า เครื่องปาล์ม มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการปาล์มและเครื่องปาล์มถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทปาล์มซอร์ซ์ (Palm Inc.) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย


                  ระบบปฏิบัติการพ็อกเก็ตพีซี (Poceket PC OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟิก สนับสนุนการทำงานแบบการใช้งานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน(multitasking) เช่น ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกับการฟังเพลง หรือตรวจเช็คอีเมลได้พร้อมกับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น



          ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิล (Windows Mobile) คือระบบปฏิบัติการที่เล็กกะทัดรัดประกอบด้วยชุดแอปฟลิเคชั่นพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ บน Microsoft Win32 API อุปกรณ์ที่ใช้ระบบวินโดวส์โมเบิลมี พ็อกเก็ตพีซี,สมาทโฟน,พอร์เทเบิลมีเดียเซ็นเตอร์ ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ เพื่อจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ทำงานอัตโนมัติอย่างแท้จริง มันถูกออกแบบให้มีระบบปฏิบัติการคล้ายวินโดวส์บนเครื่องพีซีทั่วไป เช่น จุดเด่น แบบอย่าง และความเกี่ยวข้องกัน ส่วนที่พัฒนาซอฟต์แวร์คือ ความพิเศษสำหรับวินโดวส์โมเบิล ต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิลคือ ระบบปฏิบัติการ Pocket PC 2000 วินโดวส์โมเบิลได้มีการอับเดทในเวลาต่อมา ซึ่งแนวโน้วตอนนี้คาดว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิล6 เป็นเวอร์ชันใหม่สำหรับปี2008




          ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน (Windows Phone) เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011 เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบ ที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของไมโครซอฟท์



          
               ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS) เป็นการปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทซิมเบียน ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ตโฟน มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรูปแบบกราฟิก สนับสนุนการทำงานแบบการใช้งานหลายงานในเวลาเดียวกัน





            ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี่ โอเอส ( Blackberry OS )  คือระบบปฏิบัติการที่รันหรือทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนของแบรนด์ " Blackberry " ซึ่งเป็นของบริษัทสัญชาติแคนนาดาอย่าง " Research In Motion " หรืิอ " RIM "  จุดเด่นของแบล็คเบอร์รี่นั้นจะเน้นไปในทางของการใช้งาน E-mail และการส่งข้อความต่างๆซะเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงจุดเด่นอีกจุดนั่นก็คือการสแกน QR Code เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลต่างๆ เช่น การดาวน์โหลดแอพต่างๆ นอกจากนั้นจุดเด่นด้านฮาร์ดแวร์ที่เห็นได้ชัดตั้งแต่นอกกล่องนั่นก็คือ เรื่องของการนำเอา ทัชแพด และ แทร็คบอล มาใช้ในการควบคุมทิศทางต่างๆของเคอร์เซอร์เมาส์แทนการใช้ปุ่ม ซ้ายขวาล่างบนตกลงและ OK เหมือนของรุ่นทั่วๆไป แบล็คเบอร์รี่นั้นยังมีระบบอีกหนึ่งระบบที่ไม่เหมือนใครนั้นก็คือระบบแชทกัน ระหว่างผู้ใช้งานเครื่องแบล็คเบอร์รี่ด้วยกันหรือที่เรียกกันว่า " BBM ( Blackberry Messenger ) " ซึ่งเป็นที่ฮอตฮิตกันมา่กในหมู่วัยรุ่น วัยทำงานหรือวัยอื่นๆโดยเฉพาะในไทย การทำงานก็ง่ายๆแค่ทำการเปิด PIN ซึ่งจะเป็นเหมือน ID ของแต่ละเครื่อง สามารถนำเอาไปไห้คนอื่นที่ต้องการคุยกับเราผ่าน BBM แอดเราเข้ามา นอกจากนั้นก็สามารถใช้การสแกน QR Code แทนพินได้ด้วย




            ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551

           ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) มีชื่อเดิมว่า iPhone OS เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของ iPhone เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน (Smartphone) ของแอปเปิล โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ iPhone และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ iPod Touch และ iPad โดยระบบปฏิบัติการนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอ็ปสตอร์สำหรับการเข้าถึงถึงแอพพลิเคชั่น (Application) มากกว่า 2,200,000 applications ซึ่งมีการดาวน์โหลดไปมากกว่าห้าพันล้านครั้ง แอปเปิลได้มีการพัฒนาปรับปรุงสำหรับ iPhone, iPad และ iPod Touch ผ่านทางระบบ iTunes คือโปรแกรมฟรี สำหรับ Mac และ PC ใช้ดูหนังฟังเพลงบนคอมพิวเตอร์ รวมทั้งจัดระเบียบและ sync ทุกๆอย่าง และเป็นร้านขายความบันเทิงบนคอมพิวเตอร์, บน iPod touch, iPhone และ iPad ที่มีทุกๆอย่างสำหรับคุณ ในทุกที่และทุกเวลา พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีความเป็นเลิศ ซึ่งนี้คือข้อได้เปรียบ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น